ความหมายของธุรกิจ
"ธุรกิจ"หมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการบริการ โดยภายในหน่วยงานหรือธุรกิจนั้น ๆ มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างมีระบบ มีระเบียบตามกฏเกณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนหรือผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือบรรลุตามเป้าหมายของธุรกิจ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ
จากความหมายของธุรกิจจะเห็นได้ว่าธุรกิจจะดำเนินได้นั้นต้องมีการนำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างมาประสานกัน ซึ่งกิจกรรมนั้น ๆ ก็คือ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบภายในธุรกิจนั้นเอง
หน้าที่ทางธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะผสมผสานทรัพยากรที่มีอยู่ภายในธุรกิจหรือหน่วยงานเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์ และสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมเพื่อนให้สินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ทรัพยากร (Resource) ที่หน่วยงานมีอยู่ คือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหรือเรียกสั้น ๆ ว่า 4 M's อันประกอบด้วย
1. คน (Man) เป็นทรัพยากรแรกที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานภายในธุรกิจ ซึ่งนับรวมทั้ง ฝ่ายบริหารและฝ่ายปฎิบัติการ
2. เงินทุน (Money or Capital) คือสินทรัพย์ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ อาจจะอยู่ในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ก็ได้
3. วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ (Material) คืออาจจะเป็นรูปของวัตถุดิบถ้าธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจการผลิตเช่น เครื่องจักรกล วัสดุ อะไหล่ต่าง ๆ หรืออาจใช้ในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จได้
4. การบริหารงานหรือการจัดการ (Management) คือกระบวนการหรือขั้นตอนในการนำคน เงินทุน และวัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์ มาดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การดำเนินของหน้าที่ภายในธุรกิจ เพื่อให้ทรัพยากรประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ ออกเป็น 5 หน้าที่ ดังนี้
1. หน้าที่เกี่ยวกับการผลิต (Production Function)
2. หน้าที่เกี่ยวกับการตลาด (Marketing Functon)
3. หน้าที่เกี่ยวกับการเงิน (Financial Functon)
4. หน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี ( Accounting Functon)
5. หน้าที่เกี่ยวกับบุคคลากร (Personal Functon)
การสร้างความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางธุรกิจ
หน้าที่ของธุรกิจทุกหน้าที่จะต้องมีการทำกิจกรรมที่ประสานกัน เพื่อให้การปฎิบัติงานภายในธูรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งหน้าที่ต่าง ๆ เหล่านั้นจะประสานกันได้ต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหล้งนั้น ๆ
การจัดโครงสร้างขององค์กร (Organization Structure)
หมายถึง รูปแบบของแผนงานภายในองค์กรที่มีการกำหนดขึ้นเป็นตำแหน่งต่าง ๆ พร้อมระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้น ๆ ทำให้บุคคลผู้ที่ดำรงตำแหน่งสามารถปฎิบัติงานได้ทั้งในหน้าที่ของตนและในหน้าที่ที่ต้องประสานกับฝ่ายอื่น ๆ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันภายในองค์กร โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์เดียวกันเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
โครงสร้างขององค์กรโดยทั่วไปประกอบด้วย
1. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อมอบหมายให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลปฎิบัติงาน
2. มอบหมายงานที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 อาจจะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
3. กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละหน้าที่ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติรู้ขอบเขตของหน่วยงานที่ต้องปฎิบัติ
4. จัดให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กับกลุ่มผู้ปฎิบัติงานช่วยกันดูแล ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
โครงสร้างขององค์กรโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. โครงสร้างที่เป็นทางการ (Formal Organization Structure) มีการกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชัดเจน มีผู็รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม มีการปฎิบัติงานร่วมกันอย่างมีระเบียบแบบแผนและในองค์กรมักจะมีแผนภูมิโครงสร้างแสดงไว้ให้เห็น
2. โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ (Lnformal Organization Structure) เป็นโครงสร้างที่ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ไม่มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่มีการกำหนดกฎระเบียบใด ๆ แต่ละบุคคลในองค์กรจะปฎิบัติงานโดยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงสร้างลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในธุรกิจขนาดเล็กหรือธูรกิจภานในครอบครัว ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวในการช่วยกันทำงาน แต่ในธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ เช่น พนักงานที่เรียนจบมาจากสถาบันเดียวกันทำงานอยู่ในบริษัทเดียวกัน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทำให้เกิดความสนิทสนมรักใคร่กันเมื่องานมีปัญหาก็จะช่วยกันแก้ไข ร่วมกันสร้างสรรค์งานให้ไปสู่เป้าหมายได้
ประโยชน์ของการจัดโครงสร้างภายในองค์กร
1. ช่วยให้ผู็ปฎิบัติงานรู้จักขอบข่ายของหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องปฎิบัติ
2. เป็นเครื่องมือในการสั่งการและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับบุคคลในองค์กร
3. ก่อให้เกิดวิธีการที่จะปฎิบัติงานร่วมกัน
4. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฎิบัติมีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติงานไปสู่เป้าหมาย
ความสัมพันธ์ภายในองค์กร (Organization Relationship)
ในองค์กรแต่ละองค์กรมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนหรือจะไม่มีการแบ่งหน้าที่ก็ตามแต่ทุกคนที่อยู่ในองค์กรต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการปฎิบัติงานเหมือนกันคือความสำเร็จขององค์กร ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้นั้นทุกคน ทุกตำแหน่งหน้าที่จะต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อร่วมมือกันปฎิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากการกำหนดโครงสร้างขององค์กรพอจะแบ่งความสัมพันธ์ออกได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ (Formal Relationship) ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยตำแหน่งหน้าที่ เช่น พนักงานขายกับผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ในที่นี้พนักงานขายมีความสัมพันธ์ในบทบาทของผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ (Informal Relationship) ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่เกี่ยวกับตำแหน่งงาน แต่ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ก็จะมีผลต่อการปฎิบัติงาน เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดกับพนักงานขายเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ แต่ในขณะเดียวกันบุคคลทั้งสองอาจจบการศึกษามาจากสถาบัญเดียวกัน นับถือเป็น รุ่นพี่รุ่นน้องกัน นับเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ
ดังนั้น ธุรกิจต่าง ๆ จึงมีความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะควบคู่กัน ก่อให้เกิดความร่วมมือกัน มีผลทำให้งานในธุรกิจนั้นมีความก้าวหน้า เจริญเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญของธุรกิจ
่่ ธุรกิจเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานในการสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือประชาชนโดยนำทรัพยากรต่าง ๆ มาเข้ากระบวนการที่เรียกว่า "การดำเนินธุรกิจ" ซึ่งธุรกิจเหล่านั้นมีผลต่อการพัฒนาประเทศและสังคม พอจะสรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินงานของธุรกิจก่อให้เกิดการนำทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. ช่วยให้ผู้บริโภคหรือประชาชนได้ใช้สินค้าหรือบริการ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
3. ธุรกิจต่าง ๆ ช่วยขจัดปัญหาการว่างงาน และช่วยกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน
4. ช่วยเพิ่มพูนรยได้ให้กับประเทศในรูปแบบของภาษีอากร
5. ประชาชนหรือผู้บริโภคมีโอกาสได้เลือกสินค้าหรือบริการที่สนองความพึงพอใจสูงสุดได้ง่ายเพราะธุรกิจต่าง ๆ มีการแข่งขันกัน เพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการ
6. ประเทศสามารถนำภาษีอากรที่จัดเก็บไปพัฒนาประเทศได้
ข้อมูลจาก: https://sites.google.com/site/chamnam2554/home/naew-kar-sxn1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น