หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ล่ามแปลภาษา (Interpreter)


👨 นิยามอาชีพ
        แปลถ้อยคำจากภาษาที่พูดเป็นภาษาอื่น : แปลจากคำพูดโดยตรงจากการบันทึกเสียงโดยการใช้ความรู้ในภาษาเดิม และภาษาต่างประเทศอาจจดชวเลขเพื่อช่วยในการแปลคำพูด อาจแปลบทความและเอกสารโดยการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยปกติมักเชี่ยวชาญในภาษาหรือเรื่องประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ และอาจมีชื่อเรียกตามงานที่ทำ

👨 ลักษณะของงานที่ทำ 
          1.พนักงานแปล ทำหน้าที่แปลข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จากภาษาเดิมเป็นภาษาอื่นตั้งแต่หนึ่งภาษาขึ้นไป เช่น วรรณคดี บทความเชิงทางวิชาการ บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร เอกสารทางการเมืองและเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย จดหมายตอบโต้ และข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการใช้ความรู้จากภาษาเดิม สำหรับผู้แปลหนังสือภาษาต่างประเทศได้รับลิขสิทธิ์ ในการแปลเรียกว่า "นักแปล" อาจเป็นหนังสือนวนิยาย หรือหนังสือที่ใช้เป็นบทเรียนในภาควิชาการบริหาร และการตลาด
          2.ทำหน้าที่แปลคำพูด หรือคำบรรยาย ในระหว่างการสนทนา หรือการบรรยายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนในเวลาเดียวกัน

👨 สภาพการจ้างงาน
          สำหรับเจ้าหน้าที่ในองค์การของรัฐ จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและอาจะมีค่าวิชาชีพเพิ่มให้ ในภาคเอกชนจะได้รับการว่าจ้างในอัตราเงินเดือนมากกว่า 5 - 10 เท่าขึ้นไปตามความสามารถและความรับผิดชอบ
          ผู้ประกอบอาชีพอิสระในการแปลหนังสือนวนิยายต่างประเทศ ค่าจ้างแปลโดยเฉลี่ยเป็นชิ้นงานตามความหนาของหนังสือ จะได้รับค่าจ้างแปลประมาณเล่มละ 30,000 - 80,000 บาท ซึ่งใช้เวลาแปลประมาณ 1-2 เดือน บางเล่มที่มีความเป็นวิชาการมากอาจได้รับค่าแปลมากกว่า 100,000 บาท และในกรณีถ้ามีการพิมพ์ซ้ำ ผู้แปลจะได้ค่าแปลเพิ่มขึ้นตามแต่เปอร์เซ็นต์ที่ตกลงไว้กับผู้ว่าจ้าง การแปลบทสารคดีจะได้รับค่าตอบแทนเป็นชิ้นงานประมาณ 5,000 - 7,000 บาทต่อเรื่อง หรือความยาวประมาณ 20 หน้า นอกจากนี้ ยังมีการแปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศที่แพร่ภาพทางทีวีและฉายในโรงภาพยนตร์ ค่าแปลบทภาพยนตร์ทีวี ประมาณเรื่องละ 3,000 - 5,000 บาท การแปลบทภาพยนตร์จะได้รับค่าจ้างที่สูงพอสมควร ส่วนค่าจ้างแปลเอกสารธรรมดาในท้องตลาดทั่วไปหน้าละประมาณ 300 -800 บาท

👨 สภาพการทำงาน
          ผู้ปฏิบัติงานผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter อาจทำงานประจำในองค์กรต่างๆ เช่น สำนักงานทนายความและบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทอุตสาหกรรม บริษัทอุตสาหกรรมร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ บริษัทก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร โดยทำหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงาน หรือในกรณีที่ทำหน้าที่ล่าม ต้องเดินทางออกไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ทำงานในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ และอาจต้องทำหน้าที่เลขานุการของผู้บริหารด้วย ในการออกไปทำงานนอกสถานที่ งานที่ทำอาจมีความกดดันในเรื่องเวลาปฏิบัติงานพอสมควร คือชั่วโมงทำงานอาจนานจนกว่าการสนทนา การบรรยาย หรือการเจรจาธุรกิจจะเสร็จสิ้น
          สำหรับ "นักแปล" ที่รับจ้างแปลงานให้กับบริษัทนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ และสำนักพิมพ์นั้นสามารถปฏิบัติงานที่บ้านได้ โดยนำงานต้นฉบับแปลส่งตามที่กำหนดกับผู้ว่าจ้างไว้ นักแปลต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อให้งานแล้วเสร็จทันกำหนดเวลา

👨 โอกาสในการมีงานทำ
          ปัจจุบันผู้ที่แปลภาษาต่างประเทศ เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เนื่องมาจากการเปิดการค้าเสรีและการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ธุรกิจทุกวงการต้องหันมาส่ง้สริมพนักงานทุกคนในองค์กรให้ใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างน้อย นอกเหนือไปจากการจ้างพนักงานประจำทั้งนักแปล และล่าม ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน เยอรมันกันอย่างมากมายในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา เช่น ธุกิจอุตสาหกรรม วงการก่อสร้างงานสาธารณูปโภคระดับนานาชาติและบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบผู้แปลภาษาต่างประเทศจึงมีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก เพราะบางบริษัทจ้างพนักงานแปลหรือล่ามที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้มากกว่า 2 ภาษา และจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ผู้ที่มีความสามารถด้านการแปลภาษาสามารถเลือกงานได้ตามที่ตนต้องการ
          ผู้ประกอบผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter มีความมั่นใจในตนเองสูง และเป็นอาชีพอิสระอาจเลือกทำงานตามอุดมคติได้ เช่น ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศในโครงการต่างๆได้ ถ้าไม่ต้องการเป็นนักแปลหรือล่าม บรรณาธิการข่าวต่างประเทศอาจประกอบผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter เป็นอาชีพเสริมนอกเหนืองานประจำ

👨 คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
          ผู้ประกอบอาชีพผู้แปลภาษาต่างประเทศ ต้องเตรียมความพร้อม โดยอาจมีความรู้ระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท สาขาอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรืออย่างน้อยมีความสามารถในการแปลอย่างช่ำชองทั้งสองภาษา โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
          1.สนใจและรักในภาษาและมีความรู้ความชำนาญในภาษาของตนเองไม่น้อยไปกว่าต้นฉบับ
          2.เป็นผู้มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้ในการแปลดีพอ
          3.เป็นผู้หมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งในงานที่ทำและงานแขนงอื่นๆ
          4.เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล
          5.เป็นผู้มีใจเปิดกว้างยอมรับข้อติติง จากทั้งเพื่อนร่วมงานและผู้ว่าจ้าง
          6.เป็นผู้มีความระเอียดรอบคอบ และความละเอียดอ่อนในการแปล

👨 สถานฝึกอมรมอาชีพ / สถาบันการศึกษา
         - คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2218-4870 เว็บไซต์ http://www.arts.chula.ac.th/
         - คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) 99 หมู่ 18 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121 โทรศัพท์ 0-2696-5626, 0-2696-5629, 0-2696-5204, 0-2696-5205 โทรสาร 0-2696-5619 เว็บไซต์ arts.tu.ac.th/
         - คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0-5394-3208-9 โทรสาร 0-5322-1595 เว็บไซต์ http://www.human.cmu.ac.th/
         - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131 โทรศัพท์ 0-3810-2222 ต่อ 2336 เว็บไซต์ http://www.huso.buu.ac.th/
         - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 23 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ 0-4320-2861 โทรสาร 0-4320-2318 อีเมล huso@kku.ac.th เว็บไซต์ http://hs.kku.ac.th/pages/home
         - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ 0-4375-4369 โทรศัพท์ภายใน 4734, 4703 อีเมล human.msu.contact@gmail.com เว็บไซต์ http://human.msu.ac.th/husoc/
         - คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000 โทรศัพท์ 0-5446-6666 โทรสาร 0-5446-6690 อีเมล webmaster@up.ac.th
         - คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 333 หมู 1 ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100 โทรศัพท์ 0-5391-6000, 0-5391-7034 โทรสาร 0-5391-6034, 0-5391-7049 เว็บไซต์ http://www.mfu.ac.th/bachelor-art-rng.php
         - ฯลฯ

👨 โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
          ผู้ปฏิบัติงานผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter มีโอกาสก้าวหน้าทางด้านวิชาชีพในเรื่องของค่าจ้างและเงินเดือน อาจได้รับตำแหน่งต่างๆ ในองค์กรที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ จนถึงระดับผู้บริหาร ถ้าผู้แปลหรือล่ามมีความชำนาญพิเศษและมีประสบการณ์ในระดับสูงอาจทำงานกับองค์กรนานาชาติได้

👨 อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
          ล่าม นักแปลหนังสือ นักแปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศ นักแปลสารคดีต่างประเทศ นักแปลข่าว นักประพันธ์ รีไรท์เตอร์ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ บรรณาธิการหนังสือแปล พนักงานแปลประจำหน่วยข่าวในองค์กรต่างประเทศหรือสถานทูต มัคคุเทศก์ ผู้จัดการโครงการขององค์กรระหว่างประเทศ

👨 แหล่งข้อมูลอื่นๆ
          - แหล่งจัดหางานในหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์
          - ชมรมนักแปล          

     


วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

อาชีพ


             อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไป กลุ่มอาชีพตาม ลักษณะการประกอบอาชีพ   มี 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง 1 อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง 2 อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า quot นายจ้าง quot หรือผู้ว่าจ้าง บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า quot ลูกจ้าง quot หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ ผู้รับจ้างเรียกว่า quot ค่าจ้าง quot การประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการรับจ้างทำงานในสถาน ประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างในลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทำได้ อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับการกำหนด ของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้าง การทำงานผู้รับจ้างจะทำอยู่ภายในโรงงาน ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง กับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ทำงานตามที่นายจ้าง กำหนด แต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ความรู้ ความชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี มีความกระตือรือร้น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรับกฎเกณฑ์และเชื่อฟังคำสั่ง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง สุขภาพอนามัยที่ดี อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลายอาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ อาชีพได้ตามความถนัด ความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะทำให้ เกิดรายได้มาสู่ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

อาชีพในฝันของแอดมิน

1.นางสาวรวิพร นิยมไทย
อาชีพในฝันของดิฉันคงอยากเปิดธุรกิจส่วนตัวเพราะไม่อยากทำงานประจำ ไม่อยากเป็นมนุษย์เงินเดือนแบบที่หลายๆคนเป็น หลายคนอาจจะคิดว่างานประจำได้เงินดีและได้เรื่อยๆ แต่อันที่จริงแล้ว การกระทำของเรานั้นน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราจะรวยหรือจนมากกว่า หากมีงานแต่ไม่ขยันก็ไม่ได้เงิน แต่การที่เราจะเริ่มทำธุรกิจนั้น เราต้องเริ่มจากจุดที่เรียกว่ามนุษย์เงินเดือนเสียก่อน เพื่อหาทุนไปเปิดกิจการส่วนตัวค่ะ






2.นางสาวปาริชาติ สวัสดิ์จิรพงศ์
อาชีพในฝันของดิฉันคือล่าม สาเหตุนั้นก็เพราะว่าโดยส่วนตัวมีความชื่นชอบภาษา อยากที่จะสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ และดิฉันมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี อีกอย่างภาษาสามารถนำไปต่อยอดยังอาชีพอื่นได้อีกด้วย เช่น ครูสอนภาษาอังกฤษ คนแปลหนังสือ ไกท์ มัคคุเทศก์ เป็นต้น






3.นางสาวณัฐปภัสร์ สุภะเกษ
อาชีพในฝันของดิฉันคือแอร์โอสเตสเพราะว่าในความคิดของดิฉัน แอร์โอสเตสนั่นได้แต่งตัวสวย และ ได้ไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลก อีกทั้งได้ภาษาและได้รู้จักกับผู้คนมากมายมากยิ่งขึ้น






4.นางสาวสโรชา แจ้งจำรัส
อาชีพในฝันของดิฉันคืออัยการหรือผู้พิพากษาเพราะเป็นอาชีพที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทุกคน







ข้อมูลจาก : http://guru.sanook.com/21331/ 

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

การถนอมอาหาร


การถนอมอาหาร (Food Preservation) หมายถึงวิธีการใดๆ ก็ตามที่ทำให้เก็บอาหารไว้บริโภคได้นานกว่าธรรมดา โดยที่อาหารนั้นยังคงสภาพดี ไม่เกิดการสูญเสียทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทำให้มีอาหารบริโภคทั้งในยามปรกติและยามขาดแคลน หรือนอกฤดูกาลของอาหารนั้น เป็นการประหยัดรายจ่ายเนื่องจากซื้อหาเมื่อมีราคาถูกมาเก็บถนอมไว้บริโกค เมื่อมีราคาแพงหรือพ้นฤดูของอาหารนั้น ซึ่งนอกจากทำให้ได้รับประทานอาหารในรูปลักษณะ และรสชาติแปลกกันไปแล้ว ยังอาจเป็นทางช่วยเพิ่มพูนรายได้และจำหน่ายได้ราคาสูงอีกด้วย
สาเหตุของการถนอมอาหารก็เนื่องจากมีอาหารมาก กินสดไม่ทันหากปล่อยไว้ตามธรรมชาติอาจเน่าเสีย แต่บางคนก็ถนอมอาหารด้วยความชอบรสของอาหารนั้นๆ ส่วนในวงการอุตสาหกรรมทั้งเล็กและใหญ่ทำการถนอมอาหารเพื่อการค้า
อะไรทำให้อาหารเน่าเสีย
การที่จะถนอมอาหารได้ดีก็ต้องเข้าใจถึงสาเหตุของการเน่าเสียของอาหารต่างๆ ครั้นรู้สาเหตุการเน่าเสียแล้วก็หาทางป้องกันสาเหตุนั้น ก็จะเป็นการรักษาอาหารไว้ได้นานในสภาพดีได้ ซึ่งการที่อาหารเน่าเสียเนื่องมาจากสาเหตุต่อไปนี้
1. เกิดจากสิ่งมีชีวิต
2. เกิดจากวัตถุและปฏิกิริยาทางเคมี
3. เกิดจากสาเหตุอื่น
1. สาเหตุจากสิ่งมีชีวิต ได้แก่
(1) พวกน้ำย่อย (Enzyme) เป็นสารที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพของสิ่งต่างๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น จากดิบเป็นสุก จากสุกเป็นงอม หรือจากเนื้อสดเป็นนุ่มและเน่า น้ำย่อยพวกนี้คล้ายกับสิ่งมีชีวิต สามารถหยุดยั้งไว้ได้ โดยการนำไปใส่ตู้เย็น แต่เมื่อนำออกมาก็จะทำงานต่อไปได้ หรือเมื่อถูกความร้อนน้ำย่อยพวกนี้ ก็จะถูกทำลายไป
(2) เชื้อรา (Mold) มักพบในอาหารหลายชนิด เจริญได้ดีในความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ต้องไม่มีแสงสว่าง แม้อาหารจะเป็นกรดก็สามารถเจริญได้ดี เชื้อราทำให้อาหารบูดเสียและปล่อยพิษไว้ในอาหาร เช่นราดำที่มักพบในถั่วลิสงจะปล่อยพิษที่เรียกว่า อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นพิษที่ทำลายให้หมดไปยาก อาหารที่มีราขึ้นจึงไม่ควรบริโภค การป้องกันเชื้อรา ก็โดยการควบคุมความชื้นไม่ให้มีอากาศเข้าไปในอาหาร ให้ถูกแสงแดดหรือแสงสว่างพอควร
แต่การมีเชื้อราบางชนิดก็มีประโยชน์ในการแปรรูปอาหาร ใช้ในการถนอมอาหารได้ เช่น การทำเต้าเจี้ยวและนํ้าซีอิ้ว ใช้เชื้อราสีเหลือง เป็นต้น หรือการทำเนยแข็งบางชนิด ก็นิยมให้ราขึ้นเพื่อให้มีกลิ่นเฉพาะ
(3) แบคทีเรีย (Bacteria) หรือพวกจุลินทรีย์ บางชนิดทนความร้อนได้เพียงเล็กน้อยบางชนิดทนความร้อนได้สูงมาก ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้มีสภาพต่างกัน บางชนิดชอบเจริญในที่มีอากาศ บางชนิดเจริญในที่ไม่มีอากาศ บางชนิดไม่เจริญในที่เป็นกรด เป็นต้น
การควบคุมไม่ให้จุลินทรีย์เหล่านี้เจริญ ต้องใช้ความร้อนฆ่าเชื้อ และทำสภาพไม่ให้เหมาะที่เชื้อจะเจริญได้ เช่น ไม่ให้มีอากาศ ใส่สารเคมี เช่น พวกเกลือ น้ำตาล น้ำส้ม หรือนำมันลงไป ก็อาจจะช่วยป้องกันไม่ให้เจริญได้
(4) ยีสต์ (Yeast) เป็นพืชชนิดเล็กชนิดหนึ่งชอบเจริญในอาหารพวกแป้งและน้ำตาล โดยมีการเปลี่ยนแปลงเกิดแอลกอฮอล์และคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้น ในการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดประโยชน์ที่จะทำในขั้นต่อไปให้เกิดกรดน้ำส้มขึ้นโดยการใช้เชื้อแบคทีเรียชนิดที่เปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้เป็นน้ำส้มใส่ลงไป
การควบคุมทำได้โดยใช้ความร้อน เพราะเชื้อยีสต์ทนความร้อนได้ไม่สูงนัก
2. สาเหตุจากสารเคมี และปฏิกิริยาเคมี ได้แก่
(1) การกระแทกกระเทือนทำให้เกิดความร้อนและมีปฏิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้น
(2) การมีอากาศลงไปทำให้เกิดการเติมอ๊อกซิเจนมีการเปลี่ยนสีเปลี่ยนรสเกิดขึ้น
(3) การมียาฆ่าแมลงหรือผงซักฟอกหรือสารเคมีที่เป็นพิษติดลงไป
(4) การใช้น้ำกระด้างปรุงอาหาร หรือใช้เกลือสินเธาว์หรือเกลือที่เติมไอโอไดด์ ทำให้สีและลักษณะต่างๆ ผิดไป เช่น ดำคล้ำเนื่องจากไอโอดีน หรือกระด้างไม่น่ารับประทาน
(5) การใช้ภาชนะที่อาจจะเกิดปฏิกิริยากับอาหารละลายปนลงไป เช่น ภาชนะที่ทำด้วยเหล็ก ทองแดง ทองเหลือง ตะกั่ว หรืออย่างอื่นๆ ทำให้สี กลิ่น และรสผิดไปและบางคราวก็มีพิษแก่ร่างกายด้วย
3. สาเหตุอื่นๆ
(1) การบรรจุหีบห่อทำไม่เรียบร้อยเกิดการแตกรั่ว
(2) การขนย้ายไม่ถูกต้อง มีการบุบสลายหรืออบอ้าวเกินไปทำให้เสื่อมคุณภาพ
(3) ภาชนะไม่เหมาะสม ไม่สะอาดพอ ทำให้เกิดการบูดเสียอย่างอื่นตามมา
(4) วิธีการที่ใช้ไม่ถูกต้อง เช่น ฆ่าเชื้อไม่ครบตามเวลาที่กำหนด หรือการใส่สารปรุงผิดไป เช่น เกลือหรือน้ำส้มไม่เพียงพอ
วิธีถนอมอาหาร ที่นิยมกันมีดังนี้
1. ตากแห้ง    6. ดอง
2. ใส่เกลือ        7. บรรจุขวดหรือกระป๋อง
3. รมควัน        8. ใส่ยากันบูด
4. กวน        9. แช่เย็น
5. แช่อิ่ม        10. อาบรังสี
1. ตากแห้ง ใช้กับเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และเครื่องเทศ บางครั้งก็ใส่เกลือให้เค็ม แล้วตากแห้งควบกันไป ตัวอย่างเช่น เนื้อเค็ม ปลาแห้ง ปลาเค็ม กล้วยตาก หัวผักกาดเค็ม หรือหัวไชเท้าเค็ม ปลาหมึกแห้ง พุดทราแห้ง ลูกเกต ตั้งฉ่าย มะม่วงเค็ม พริกแห้ง เห็ดแห้ง แอปเปิ้ล ลูกพรุน หน่อไม้แห้ง ดอกไม้จีน ข้าวเกรียบ ฯลฯ
วิธีทำ เอาเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือเครื่องเทศ มาตากแดดให้แห้งโดยไม่ใส่ร้อนๆ ลงไปเลย เช่น การทำกล้วยตาก ปอกเปลือกออกใส่กระด้งตากแดดจนแห้ง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ใส่เกลือหมักไว้ แล้วนำมาตากแดดให้แห้งสนิท แล้วเก็บใส่ภาชนะปิดให้มิดชิดที่สามารถกันความชื้นจากอากาศภายนอก และแมลงต่างๆ ได้
2. การกวน ใช้กับผลไม้ และมักใส่น้ำตาลมาก เก็บไว้รับประทานได้หลายวัน เช่น สับปะรดกวน กล้วยกวน มะม่วงกวน ทุเรียนกวน แยมมะละกอ แยมกะเจี๊ยบ แยมผิวส้ม แยมมะม่วง แยมมะเขือเทศ บางอย่างใช้น้ำตาลน้อย หรือไม่ใช้ใส่เลย เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ ใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร
วิธีทำ เอาผลไม้ล้างให้สะอาด ปอกหรือหั่น แล้วนำไปกวนบนไฟอ่อนๆ ใส่น้ำตาล หรือเกลือ บางครั้งใส่กระทิด้วยเพื่อให้รสดีขึ้น จนได้ที่ตามต้องการ ผลไม้บางอย่างที่มีรสเปรี้ยวมาก เช่น มะยม สับปะรด อาจแช่เกลือไว้ 2-3 ชั่วโมงก่อนกวน หรือต้มกับน้ำ เทน้ำเปรี้ยวทิ้ง หรือคั้นน้ำออกเสียบ้างก็ได้
3. แช่อิ่ม นิยมใช้กับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมากๆ เพื่อเก็บไว้เป็นของว่าง เช่น มะดัน มะม่วง มะยม มะขาม มะขามป้อม สับปะรด ลูกสมอ ลูกท้อ ลูกจัน ฟัก มะละกอ กระท้อน
วิธีทำ
ขั้นที่ 1 เอาผลไม้แช่น้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 2% คือใช้เกลือ 1 ถ้วย ต่อน้ำ 10-14 ถ้วย หรือต้มเพื่อลดรสเปรี้ยวหรือรสขื่น
ขั้นที่ 2 เตรียมน้ำเชื่อมที่จะแช่ โดยเคี่ยวแล้วทิ้งให้เย็น ในอัตราส่วนน้ำตาลต่อน้ำ 1 ต่อ 2
ขั้นที่ 3 เอาผลไม้แช่ในน้ำเชื่อมทิ้งไว้ค้างคืน รุ่งขึ้นเอาผลไม้นั้นขึ้น เอาน้ำเชื่อมไปใส่น้ำตาลเคี่ยวใหม่ หรือเอาน้ำเชื่อมที่แช่แล้วเททิ้งไปแล้วทำน้ำเชื่อมขึ้นแช่ใหม่ก็ได้ แต่เปลืองหน่อย ให้ทำซ้ำๆ กันหลายวันจนได้ที่ ประมาณ 4-5 วัน
ถ้าทำแช่อิ่มแห้ง ก็นำผลไม้ที่แช่น้ำเชื่อมค้างคืนแล้วไปตากแดด แล้วนำไปแช่น้ำเชื่อมใหม่ด้วยวิธีเดียวกันกับแช่อิ่ม ทำสลับกันดังนี้จนน้ำเชื่อมเข้าเนื้อดี
4. การหมักดอง ส่วนมากใช้กับปลา กุ้ง หอย ไข่ ผักและผลไม้ เพื่อนำไปใช้ปรุงอาหาร หรือรับประทานเป็นเครื่องแนม เครื่องเคียง วิธีดองมีทั้งดองเค็ม ดองเปรี้ยว และดองสามรส ซึ่งต่างกันที่น้ำสำหรับดอง ซึ่งในการดองจะต้องเตรียมน้ำสำหรับดองไว้ ล้างผัก ผลไม้ ไข่ ปลา กุ้งหรือหอยที่จะหมักหรือดองให้สะอาดแล้วจึงจะนำไปดอง ทิ้งไว้จนได้ที่ตามต้องการ ใช้เวลาเร็วบ้างช้าบ้างตามชนิดของการหมักดอง บางชนิดอาจเป็นวัน แต่บางชนิดอาจเป็นเดือน
วิธีทำ
ก. ดองเค็มหรือหมัก นิยมมากในการทำไข่เค็ม หอยดอง จิงจัง บูดู ปูเค็ม โดยใช้น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำซีอิ้ว หรือเกลือเม็ด ซึ่งในการดองทำดังนี้
วิธีที่ 1 เอาอาหารที่จะดอง เช่น ไข่ หรือหอย ล้างให้สะอาด ตั้งให้แห้ง หรือแกะเปลือกออก แช่น้ำเกลือในภาชนะที่ปิดมิดชิด เป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ก็ใช้ได้
วิธีที่ 2 พอกไข่ด้วยดินผสมขี้เถ้าแกลบผสมเกลือ ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์
วิธีที่ 3 พวกจิงจัง บูดู ปูเค็ม หัวผักกาดเค็ม ทำโดยเอาปลา ปู และหัวผักกาดเคล้าเกลือมากๆ
ข. ดองเปรี้ยว เช่น ผักกาดดอง ถั่วงอกดอง หัวหอมดอง ผักเสี้ยนดอง ผักบุ้งดอง แตงกวาดอง กะหลํ่าปลีดอง มะนาวดอง ปลาส้ม กุ้งส้ม แหนม สะตอ  มะขาม มะม่วง ปลาร้า และปลาแจ่ว ฯลฯ
วิธีดองก็โดย ถ้าเป็นพวกผักและผลไม้ ให้เอาผักหรือผลไม้ที่ทำความสะอาดดีแล้ว แช่ในน้ำเกลือ บางกรณีอาจตากผักที่จะดองให้แห้งก่อนจึงนำไปเคล้ากับเกลือผง (เกลือ 30-50 กรัม ต่อผัก 1 กก.) ใส่ในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิดมิดชิด ทิ้งไว้จนเปรี้ยว ข้อสำคัญต้องใช้เกลือแต่น้อย แบคทีเรีย แลคโตแบซิลัส (Lacto-bacillus) จะเจริญแล้วผลิตกรดแลคติกออกมาได้ กรดแลคติกนี้มีรสเปรี้ยว เป็นตัวช่วยรักษาอาหาร ถ้าใช้เกลือมากจะหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดนี้ อาหารก็มีรสเค็มอย่างเดียว นอกจากจะใช้เกลือแล้ว อาจใช้น้ำส้ม หรือสารอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาของแบคทีเรียเกิดเป็นกรด ทำให้เปรี้ยว เช่น น้ำซาวข้าว น้ำข้าว น้ำมะพร้าว
แต่สำหรับปลาร้า ปลาแจ่ว ปลาส้ม นอกจากใช้เกลือแล้ว ก็มีข้าวสาร เครื่องเทศต่างๆ น้ำส้มสายชู เมื่อคลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วบรรจุภาชนะบดไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์
ส่วนกุ้งส้มและแหนม ก็เอากุ้งและเนื้อหมู คลุกเกลือไม่มาก อาจใส่น้ำตาลสักเล็กน้อยด้วยก็ได้
ค. ดองสามรส น้ำที่ดองใช้น้ำส้ม เกลือและน้ำตาล ผสมกันปรุงให้มีรสกลมกล่อม คือมีทั้งรสเปรี้ยว เค็มและหวาน สิ่งที่ใช้ดองมักเป็นขิง กระเทียม มะนาว เป็นต้น
5. รมควัน เป็นการเอาเนื้อสัตว์มาย่างให้แห้ง โดยใช้ไฟอ่อนๆ และมีควันไฟด้วย เช่น ปลาย่าง ปลากรอบ
6. บรรจุขวดหรือกระป๋อง คือ วิธีการนำอาหารมาบรรจุใส่ขวดหรือกระป๋องที่ฆ่าแบคทีเรียโดยใช้ความร้อนและไม่ให้อากาศเข้าได้เลย เช่น เนื้อกระป๋อง ปลากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว เต้าเจี้ยว นมกระป๋อง เป็นต้น
7. ใส่ตัวยากันบูด เป็นตัวยาที่ใส่ลงไปเพื่อหยุดการเจริญของเชื้อที่ทำให้บูด กันการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กันกลิ่นหืน และกันสีเปลี่ยน เป็นต้น แต่การใช้สารกันบูดนี้ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ เช่น
(1) โซเดียมเบนโซเอท ใช้กับอาหารทุกชนิดเพื่อกันเสียในปริมาณโดยน้ำหนักไม่เกิน 1 กรัม ต่ออาหารหนัก 1 กิโลกรัม
(2) โซเดียมหรือโปตัสเซี่ยมเมตาไบซัลไฟท์  ใช้กับผลไม้หรือผักแห้งเพื่อกันเสียในปริมาณโดยน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
(3) กรดซอร์บิคหรือแคลเซียมซอร์เบท ใช้กับอาหารทุกชนิดเว้นเนื้อสัตว์เพื่อกันเสียในปริมาณไม่เกิน 1 กรัม ต่ออาหารหนัก 1 กิโลกรัม
(4) ควันกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นตัวป้องกันการเปลี่ยนสี ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
(5) กรดแอสคอร์บิค เป็นตัว anti oxidant หรือตัวป้องกันกลิ่นหืน ใช้ได้กับอาหารทุกชนิด ตามความจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
(6) กรดซิตริก ใช้ป้องกันการเปลี่ยนแปลงสีในผัก ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
8. การแช่เย็น
การแช่เย็นที่ดีที่สุดคือใส่ตู้เย็น เพราะในตู้เย็นจะมีอุณหภูมิราว 40°F แต่ในช่องทำน้ำแข็งจะต่ำกว่า 32°F ในความเย็นขนาดนี้จะหยุดการเจริญของแบคทีเรียและการทำงานของเอนไซม์ที่อาหารนั้น ตามปรกติแบคทีเรียเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 45 -145°F ในตู้เย็น ควรสะอาดและใส่ถ่านหรือวัตถุดูดกลิ่นเอาไว้ ก่อนที่จะนำอาหารเก็บไว้ในตู้เย็น ควรล้างเช็ดถู ทำความสะอาดแล้วใส่ภาชนะหรือใส่ถุงพลาสติกให้เป็นสัดส่วนเสียก่อน การใส่ในตู้เย็นก็ใส่ตามช่องที่เหมาะกับอาหาร และความทนนานตามต้องการของอาหารนั้น ซึ่งวิธีการแช่เย็นของอาหาร แต่ละชนิดเป็นดังนี้
(1) อาหารประเภทเนื้อ พวกเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ ให้เอาผ้าสะอาดชุบน้ำบิดพอหมาดๆ เช็ดให้สะอาดจนทั่ว แล้วจึงใส่ถุงพลาสติกหรือห่อด้วยกระดาษไข เพื่อป้องกันมิให้น้ำจากเนื้อสูญเสียไปในระหว่างแช่แข็ง ซึ่งทำให้เนื้อกระด้างเสียรส สีคล้ำลงอย่างที่เรียกว่าการ ไหม้เนื่องจากแช่เย็น (Freeze Burning) ถ้าจะให้ดีเมื่อเช็ดทำความสะอาดเสร็จแล้ว ก่อนนำไปใส่ตู้เย็น ควรหั่นให้มีขนาดพอเหมาะในการปรุงอาหารแล้วแยกบรรจุถุงพลาสติกขนาดถุงละมื้อ ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ไม่ต้องเสียเวลานำทั้งชิ้นใหญ่มาตัดแบ่งและต้องรอให้คลายความเย็น หรือละลายน้ำแข็งแล้วจึงตัด จะทำให้เสียรสและคุณค่าทางอาหารด้วยสารอาหารละลายออกมากับน้ำ และในขณะเดียวกันพออุณหภูมิลด แบคทีเรียบนเนื้อก็เจริญได้ระยะหนึ่ง เหตุนี้เนื้อสัตว์ที่นำออกมาใช้แล้วควรใช้ให้หมดไม่ควรนำไปเก็บไว้อีก
พวกเนื้อสัตว์ควรเก็บในช่องทำน้ำแข็ง (freezer) หรือช่องที่ทำไว้สำหรับเก็บเนื้อสัตว์โดยเฉพาะด้วยถ้าเก็บในช่องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 4-5 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในช่องนํ้าแข็งจะเก็บได้นาน 2 สัปดาห์ ส่วนไก่เอาเครื่องในออก ล้างสะอาด ห่อเก็บในช่องน้ำแข็งได้ 10-12 วัน ในช่องธรรมดาได้ 2 วัน
ในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น ควรเอาเนื้อผูกเชือกแขวนไว้ในห้องที่มีอากาศโปร่งและในที่เย็น ถ้าอากาศร้อนจัดควรรีบจัดการปรุงเสียทันที
(2) พวกปลา สัตว์น้ำอื่นๆ ให้ทำความสะอาด ใส่ถุงหรือกล่องพลาสติกให้มิดชิดเพื่อไม่ให้กลิ่นคาวฟุ้งไปติดอาหารอื่นๆ แล้วนำไปใส่ไว้ในช่องทำน้ำแข็ง ซึ่งจะเก็บได้นาน 3-4 สัปดาห้ ถ้าเป็นช่องธรรมดาอยู่ได้นาน 3-4 วัน
(3) ไข่ เมื่อทำความสะอาดแล้วให้ใส่ในภาชนะโปร่ง หรือตั้งให้ด้านแหลมขึ้น ในหลุมที่ทำไว้สำหรับวางไข่ ถ้าสามารถทำได้ควรเอาไข่ชะโลมน้ำมันพาราฟิน หรือน้ำมันแร่ ถ้าลวกไข่ในน้ำมันแร่ที่ร้อนประมาณ 54°C นานประมาณ 15 นาที ได้ก็จะยิ่งดี เมื่อนำไปใส่ในตู้ เย็นทำให้สามารถเก็บได้นานขึ้น
(4) ผักและผลไม้ ล้างให้สะอาด แยกตามชนิดใส่ถุงพลาสติก ปิดให้แน่น ใส่ในถาดเก็บผักจะช่วยให้สะดวกในการใช้และผักไม่เสียน้ำ
ในตู้เย็นมีแบ่งที่เก็บออกเป็นส่วนๆ ซึ่งในแต่ละส่วนมีอุณหภูมิไม่เท่ากัน จากอุณหภูมิต่ำสุดในช่องทำน้ำแข็งลงไปสู่ส่วนที่มีอุณหภูมิสูงสุด คือที่เก็บผัก (dehydrator) การเก็บผักและผลไม้ควรเก็บในที่เก็บผักหรือส่วนล่างของตู้เย็น เพราะการเก็บในที่เย็นมาก จะทำให้น้ำในเซลล์ของผักและผลไม้ระเหยออกมาทำให้เหี่ยว หรือถ้าเย็นจัดอย่างช่องน้ำแข็งเซลล์ของผักและผลไม้ จะแตกทำให้เกิดรอยดำช้ำบนผิว เช่น เปลือกกล้วยหอมเป็นสีดำ และเนื้อนุ่มเลยไม่น่ารับประทาน ถ้าเป็นผักใบก็จะเหี่ยวคล้ายถูกแดด
(5) แกง ถ้าอุ่นให้เดือดแล้วใส่ตู้เย็นทั้งร้อนๆ จะเก็บได้นาน 1-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของแกงว่าเป็นแกงจืดหรือแกงเผ็ด ซึ่งแกงเผ็ดเก็บได้นานกว่า
ข้อสำคัญไม่ควรเอาอาหารเก็บในตู้เย็นแน่นเกินไปจนอากาศภายในหมุนเวียนไม่สะดวก
ตู้เย็นมีความจำเป็นมากในการถนอมอาหารของเรา ทุกครอบครัวจึงควรซื้อเอาไว้ คุ้มค่าแน่นอน และไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยเลย
แต่ถ้าไม่มีตู้เย็นก็อาจใช้ตู้แช่น้ำแข็งก็ได้ หรือไม่ก็ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุม หรือห่อไว้แล้วพรมน้ำให้ชุ่ม ปล่อยให้น้ำระเหยไป การระเหยของน้ำนี้จะทำให้อุณหภูมิเย็นลง ช่วยให้ผักสดอยู่ได้นาน นอกจากนี้อาจใช้วิธีเอาโคนผักแช่น้ำ ใช้ใบตองห่อ หรือใส่ตุ่มดินเล็กๆ มีกระสอบชุบน้ำคลุมตุ่มไว้
9. อาบรังสี เป็นการยืดอายุการเน่าเสียและการงอกของพืชผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ ซึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น ข้าว ข้าวสาลี มะละกอ
สตรอเบอรี่ ไก่ ปลา มันฝรั่ง เนื้อ แหนม และหอมหัวใหญ่ โดยเฉพาะหอมหัวใหญ่ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติแห่งประเทศไทย (พปส.) ใช้รังสีแกมม่า จากโคบอลท์-60 อาบหอมหัวใหญ่เพื่อยับยั้งการงอกและฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็นเหตุให้เน่าเสีย ซึ่งประชาชนบริโภคได้
นอกจากนี้เนื้อหรือแหนมที่อาบรังสี รังสีจะฆ่าพยาธิ ทำให้ปลอดภัยในการบริโภค ถึงแม้จะยังดิบอยู่ก็ตาม
การสูญเสียคุณค่าในการถนอมอาหาร
ในการถนอมอาหารด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมา ย่อมจะทำให้เกิดการสูญเสียคุณค่าทางอาหารไปบ้างทางด้านวิตะมินและเกลือแร่ ซึ่งจะสูญเสียไปในการล้าง หรือไม่ก็ละลายไปกับน้ำที่แช่ แต่เรามักจะไม่กินน้ำแช่หรือน้ำดองกัน ส่วนในการกวน รมควัน บรรจุขวดหรือกระป๋อง ทำให้วิตะมิน บี1 และ ซี สลายตัวไป เพราะกรรมวิธีในการทำอย่างนั้นต้องใช้ความร้อน ซึ่งวิตะมินซี จะถูกทำลายที่ 197°F

ที่มา:ค้วน  ขาวหนูจาก: http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3/

ธุรกิจ

ความหมายของธุรกิจ
    "ธุรกิจ"หมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการบริการ โดยภายในหน่วยงานหรือธุรกิจนั้น ๆ มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างมีระบบ มีระเบียบตามกฏเกณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนหรือผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือบรรลุตามเป้าหมายของธุรกิจ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ
    จากความหมายของธุรกิจจะเห็นได้ว่าธุรกิจจะดำเนินได้นั้นต้องมีการนำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างมาประสานกัน ซึ่งกิจกรรมนั้น ๆ ก็คือ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบภายในธุรกิจนั้นเอง
    หน้าที่ทางธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะผสมผสานทรัพยากรที่มีอยู่ภายในธุรกิจหรือหน่วยงานเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์ และสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมเพื่อนให้สินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
    ทรัพยากร (Resource) ที่หน่วยงานมีอยู่ คือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหรือเรียกสั้น ๆ ว่า 4 M's อันประกอบด้วย
          1. คน (Man) เป็นทรัพยากรแรกที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานภายในธุรกิจ ซึ่งนับรวมทั้ง ฝ่ายบริหารและฝ่ายปฎิบัติการ
          2. เงินทุน (Money or Capital) คือสินทรัพย์ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ อาจจะอยู่ในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ก็ได้
          3. วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ (Material) คืออาจจะเป็นรูปของวัตถุดิบถ้าธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจการผลิตเช่น เครื่องจักรกล วัสดุ อะไหล่ต่าง ๆ หรืออาจใช้ในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จได้
          4. การบริหารงานหรือการจัดการ (Management) คือกระบวนการหรือขั้นตอนในการนำคน เงินทุน และวัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์ มาดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    การดำเนินของหน้าที่ภายในธุรกิจ เพื่อให้ทรัพยากรประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ ออกเป็น 5 หน้าที่ ดังนี้
         1. หน้าที่เกี่ยวกับการผลิต  (Production Function)
         2. หน้าที่เกี่ยวกับการตลาด  (Marketing Functon)
         3. หน้าที่เกี่ยวกับการเงิน  (Financial Functon)
         4. หน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี  ( Accounting Functon)
         5. หน้าที่เกี่ยวกับบุคคลากร  (Personal Functon)
 การสร้างความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางธุรกิจ
    หน้าที่ของธุรกิจทุกหน้าที่จะต้องมีการทำกิจกรรมที่ประสานกัน เพื่อให้การปฎิบัติงานภายในธูรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งหน้าที่ต่าง ๆ เหล่านั้นจะประสานกันได้ต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหล้งนั้น ๆ
การจัดโครงสร้างขององค์กร  (Organization Structure)
    หมายถึง รูปแบบของแผนงานภายในองค์กรที่มีการกำหนดขึ้นเป็นตำแหน่งต่าง ๆ พร้อมระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้น ๆ ทำให้บุคคลผู้ที่ดำรงตำแหน่งสามารถปฎิบัติงานได้ทั้งในหน้าที่ของตนและในหน้าที่ที่ต้องประสานกับฝ่ายอื่น ๆ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันภายในองค์กร โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์เดียวกันเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
โครงสร้างขององค์กรโดยทั่วไปประกอบด้วย
         1. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อมอบหมายให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลปฎิบัติงาน
         2. มอบหมายงานที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 อาจจะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
         3. กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละหน้าที่ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติรู้ขอบเขตของหน่วยงานที่ต้องปฎิบัติ
         4. จัดให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กับกลุ่มผู้ปฎิบัติงานช่วยกันดูแล ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
โครงสร้างขององค์กรโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. โครงสร้างที่เป็นทางการ (Formal Organization Structure) มีการกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชัดเจน มีผู็รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม มีการปฎิบัติงานร่วมกันอย่างมีระเบียบแบบแผนและในองค์กรมักจะมีแผนภูมิโครงสร้างแสดงไว้ให้เห็น
2. โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ (Lnformal Organization Structure) เป็นโครงสร้างที่ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ไม่มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่มีการกำหนดกฎระเบียบใด ๆ แต่ละบุคคลในองค์กรจะปฎิบัติงานโดยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงสร้างลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในธุรกิจขนาดเล็กหรือธูรกิจภานในครอบครัว ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวในการช่วยกันทำงาน แต่ในธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ เช่น พนักงานที่เรียนจบมาจากสถาบันเดียวกันทำงานอยู่ในบริษัทเดียวกัน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทำให้เกิดความสนิทสนมรักใคร่กันเมื่องานมีปัญหาก็จะช่วยกันแก้ไข ร่วมกันสร้างสรรค์งานให้ไปสู่เป้าหมายได้
ประโยชน์ของการจัดโครงสร้างภายในองค์กร
             1. ช่วยให้ผู็ปฎิบัติงานรู้จักขอบข่ายของหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องปฎิบัติ
             2. เป็นเครื่องมือในการสั่งการและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับบุคคลในองค์กร
             3. ก่อให้เกิดวิธีการที่จะปฎิบัติงานร่วมกัน
             4. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฎิบัติมีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติงานไปสู่เป้าหมาย
ความสัมพันธ์ภายในองค์กร (Organization Relationship)
    ในองค์กรแต่ละองค์กรมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนหรือจะไม่มีการแบ่งหน้าที่ก็ตามแต่ทุกคนที่อยู่ในองค์กรต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการปฎิบัติงานเหมือนกันคือความสำเร็จขององค์กร ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้นั้นทุกคน ทุกตำแหน่งหน้าที่จะต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อร่วมมือกันปฎิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากการกำหนดโครงสร้างขององค์กรพอจะแบ่งความสัมพันธ์ออกได้ดังนี้
            1. ความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ (Formal Relationship) ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยตำแหน่งหน้าที่ เช่น พนักงานขายกับผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ในที่นี้พนักงานขายมีความสัมพันธ์ในบทบาทของผู้ใต้บังคับบัญชา
            2. ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ (Informal Relationship) ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่เกี่ยวกับตำแหน่งงาน แต่ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ก็จะมีผลต่อการปฎิบัติงาน เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดกับพนักงานขายเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ แต่ในขณะเดียวกันบุคคลทั้งสองอาจจบการศึกษามาจากสถาบัญเดียวกัน นับถือเป็น รุ่นพี่รุ่นน้องกัน นับเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ
    ดังนั้น ธุรกิจต่าง ๆ จึงมีความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะควบคู่กัน ก่อให้เกิดความร่วมมือกัน มีผลทำให้งานในธุรกิจนั้นมีความก้าวหน้า เจริญเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญของธุรกิจ
่่    ธุรกิจเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานในการสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือประชาชนโดยนำทรัพยากรต่าง ๆ มาเข้ากระบวนการที่เรียกว่า "การดำเนินธุรกิจ" ซึ่งธุรกิจเหล่านั้นมีผลต่อการพัฒนาประเทศและสังคม พอจะสรุปได้ดังนี้
        1. การดำเนินงานของธุรกิจก่อให้เกิดการนำทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
        2. ช่วยให้ผู้บริโภคหรือประชาชนได้ใช้สินค้าหรือบริการ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
        3. ธุรกิจต่าง ๆ ช่วยขจัดปัญหาการว่างงาน และช่วยกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน
        4. ช่วยเพิ่มพูนรยได้ให้กับประเทศในรูปแบบของภาษีอากร
        5. ประชาชนหรือผู้บริโภคมีโอกาสได้เลือกสินค้าหรือบริการที่สนองความพึงพอใจสูงสุดได้ง่ายเพราะธุรกิจต่าง ๆ มีการแข่งขันกัน เพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการ
        6. ประเทศสามารถนำภาษีอากรที่จัดเก็บไปพัฒนาประเทศได้


ข้อมูลจาก: https://sites.google.com/site/chamnam2554/home/naew-kar-sxn1